อัลเฟรด วิตเตอ (Alfred Witte) ผู้ก่อตั้งสำนักโหราศาสตร์ฮัมบูร์ก และเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่าโหราศาสตร์ยูเรเนียน

อัลเฟรด วิตเตอ (Alfred Witte)
เกิด 2-Mar-1878, 21:12 LMT, Hamburg เสียชีวิต 4-Aug-1941, 4:01 MET, Hamburg
 
 
อัลเฟรด วิตเตอ เป็นนักโหราศาสตร์ชาวเยอรมันซึ่งโดดเด่นมากในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 และเป็นผู้ก่อตั้งสำนักโหราศาสตร์ฮัมบูร์ก ผู้ซึ่งได้เขียนไว้มากกว่า 40 บทความ รวมทั้ง คัมภีร์พระเคราะห์สนธิ (Rules for Planetary Pictures) เล่มแรก เขาเป็นนักสำรวจอีกด้วยโดยได้ทำงานในโครงการสนามบินฮัมบูร์ก ในชีวิตส่วนตัวของนั้น เขาเป็นคนที่เก็บเนื้อเก็บตัว ไม่ชอบเข้าสังคม และไม่พยายามที่จะทำให้ดูว่าตนเองสำคัญหรือโอ้อวดใด ๆ เขาได้แต่งงานและมีลูกสาว 2 คน
 
วิตเตอได้เริ่มงานอาชีพของเขาในฐานะนักโหราศาสตร์ในปี ค.ศ. 1913 เมื่อเขาได้ตีพิมพ์บทความของเขาที่มีชื่อว่า "ภูมิปัญญาในเรื่องสี ตัวเลข และโทนเสียง" ที่ซึ่งเขาได้พัฒนาแนวความคิดของ โยฮันนส์ เคปเลอร์ (Johannes Kepler) ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชาติของเขา ผู้เป็นนักโหราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดในการเรื่องการสอดประสานกัน หรือดนตรีกับรูปทรงกลมต่าง ๆ บทความนี้ได้อภิปรายถึงความสัมพันธ์ระหว่างกันของการสั่นสะเทือนของดาวเคราะห์ รวมทั้งความสัมพันธ์ของพวกมันต่อสิ่งที่ให้กำเนิดคลื่นได้โดยธรรมชาติและคลื่นอื่น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของส้อมเสียงซึ่งใช้ในการปรับแต่งตัวโน้ตในเครื่องดนตรี แต่บทความนี้ก็เป็นเพียงการชี้วัดในก้าวแรกของเขาเท่านั้น
 
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 วิตเตอได้ถูกหมายเกณฑ์ทหารให้ไปอยู่แนวหน้าที่รัฐเซีย ที่ซึ่งเขาได้พยายามพยากรณ์ถึงเวลาที่จะเกิดการระดมยิงปืนใหญ่ แต่ก็ต้องประสบกับความทุกข์ทนจากการล้มเหลวอย่างไม่มีชิ้นดี เมื่อได้ตระหนักความจริงถึงความไม่มีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอของกรรมวิธีของโหราศาสตร์ดั้งเดิม เขาจึงเริ่มค้นหากรรมวิธีเข้าถึงคำตอบของเขาเองเพื่อจะให้ได้ผลลัพธ์ที่เห็นผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง ในที่สุด เขาก็ได้ค้นพบและนั่นเป็นเหตุให้เกิดการปฏิวัติหรือการเปลี่ยนแปลอย่างขนานใหญ่ของโหราศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 อันเป็นเส้นทางเดียวกันกับที่เคปเลอร์ได้เคยเดินมาแล้วในศตวรรษที่ 17 ซึ่งเขาได้ค้นพบกฎของกลศาสตร์ของการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุบนฟากฟ้า ซึ่งได้ทำให้เกิดเป็นปฏิทินดาวที่มีความแม่นยำที่สุดในยุคของเขาและได้สร้างงานซึ่งเป็นทฤษฎีใหม่ของมุมสัมพันธ์ (Aspect) อันอยู่บนรากฐานของทฤษฎีดนตรี ในทุกวันนี้มีคนจำนวนน้อยมากที่รู้ว่าเป็นเคปเลอร์นี่เองที่เป็นผู้ซึ่งเราติดหนี้บุญคุณเขาในเรื่องการอุปมามุมสัมพันธ์ 72 องศา, 135 องศา, 144 องศา ว่าเป็นความสอดคล้องกลมกลืนหรือสอดประสานลงรอยกัน (Consonances) 3 แบบซึ่งมิได้เคยถูกใช้โดย ปโตเลมี (Ptolemeus) กล่าวคือ มุมหลักลำดับที่สาม, มุมย่อย, มุมหลักลำดับที่หก ในกาลต่อมา ความทุ่มเทของเคปเลอร์ที่อุทิศตนให้แก่โหราศาสตร์เกือบจะถูกลืมเลือนไปสิ้น รวมทั้งทฤษฎีดนตรีซึ่งเป็นต้นแบบและการนำเสนอมุมสัมพันธ์แบบใหม่ซึ่งมีแฝงอยู่ก็ได้ถูกมองข้ามหรือละเลยไป สิบเจ็ดปีหลังจาการเสียชีวิตของเคปเลอร์ ได้มีวิลเลียม ลิลลี (William Lilly) ในปี ค.ศ. 1647 ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า "Christian Astrology" นั้นได้ใส่เพิ่มรวมเอามุมสัมพันธ์ 30 องศา, 36 องศา, 45 องศา, 108 องศาไว้ด้วย ซึ่งแสดงถึงช่วงความถี่ของเสียงดนตรีที่เป็นความไม่สอดคล้องพร้อมเพรียงหรือขัดแย้งไม่เข้าหู (Discordant) อันเห็นได้ชัดว่าตรงกันข้ามกับหลักการของส้อมเสียง
 
จากปี ค.ศ. 1919 วิตเตอได้เริ่มการเป็นสมาชิกของ กลุ่มเคปเลอร์ ("Kepler Circle") ในฮัมบูร์ก(1) โดยได้เริ่มการบรรยายโหราศาสตร์ ในการบรรยายของเขานั้น เขาได้เผยแพร่มุมมองและแนวคิดอันเป็นการปฏิวัติของเขาเป็นครั้งแรก ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1925 เวลา 9:45:51 PM MET (GMT+1:00) ในบ้านของเฟรดริช ซิกกรึน (Friedrich Sieggrun) (พิกัดภูมิศาสตร์ 9E57'24" 53N33'04") สมาพันธ์นักโหราศาสตร์ (Astrologers Union) สำนักฮัมบูร์ก "Hamburg School" (Astrologen-Verein "Hamburger Schule") ได้ถูกก่อตั้งขึ้น มันเป็นจุดเริ่มต้นของ กลุ่มศึกษาทางโหราศาสตร์สำนักฮัมบูร์ก (Hamburg School Astrological Study Group หรือ Astrologische Studiengesellschaft Hamburger Schule E.V.) ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1947 โดยเหล่าสานุศิษย์ผู้เจริญรอยตามวิตเตอ ประกอบไปด้วย Wilhelm Bechmann, Conrad, Hellberg, Hermann Lefeldt, Karl Perch, Herbert Pauels, Ludwig Rudolph, Heinz Schlaghecke, Wilms และ Schacht ด้วยเป้าหมายแห่งการศึกษาเพื่อสืบทอดมรดกงานของวิตเตอ
 
 
(1) มีแหล่งข้อมูลอื่นซึ่งเขียนโดย Michael Fiest อันแย้งว่า วิตเตอไม่ได้เป็นสมาชิกของ กลุ่มเคปเลอร์ เพียงแต่ได้รับเชิญให้ไปบรรยายโหราศาสตร์ตามแนวคิดของเขาเท่านั้น
Comments