วันนี้จะเล่นง่ายครับ (หากินง่าย) คือจะเชิญชวนให้ไปอ่านความคิดเห็นต่อท้ายกระทู้นี้กัน ผมมองว่ามันเป็นสีสันของภาษาน่ะ... http://payakorn.net/uraniansystem/2009/08/21/entry-179 ผิดถูกอย่างไรก็แสดงความคิดเห็นต่อกันไปได้นะครับ (ผมไม่ใช่นักภาษา แต่เพื่อนที่เห็นผมเขียนรายงานส่งอาจารย์เมื่อ 9-10 ปีก่อนก็ล้อว่าเป็นวิศวฯ เอกอักษร ผมไม่คิดว่าจะเป็นคำชื่นชมตรง ๆ หรอกนะครับ คงเหน็บ ๆ กันอยู่!)
ความเห็นต่อท้ายมีดังนี้
kradarnhora @ 2009-8-22 00:49
โรคเปล็กเนี่ย ไม่มีมานานแล้วนะในไทยน่ะ ในทางยูเรเนียน เขาก็ไม่ใช้ดวงตั้งกรุง ในการพยากรณ์ดวงเมืองนะขอรับ โรคเปล็ก ที่อาจารย์ว่า อาจารย์คงมุ่งหมายถึง กาฬโรค เป็นการเฉพาะใช่ไหมครับ แต่คำแปลนั้นเขาไม่ได้มุ่งที่คำแปลนั้นเป็นหลักนะครับ คงเป็นความผิดของผมเองที่ดันดัดจริตใช้ภาษาอังกฤษ จึงทำให้ต้องมาตีความกันอีก Plagues มีความหมายกว้างครับ ได้แก่ โรคระบาดที่ทำให้เกิดการตายมาก กาฬโรค โรคห่า ภัยพิบัติ สิ่งที่น่ารำคาญ โรคระบาดรุนแรง สัตว์หรือแมลงจำนวนมาก ทำให้รำคาญ รบกวน เป็นต้น ในรูปภาษาตามที่เขียนในพระเคราะห์สนธิไว้นั้น ยังวินิจฉันได้อีกว่า… เช่น ในคำแปลว่า General plagues. ของ AR r = SA/NE v1 นั้น ควรจะแปลว่า โรคระบาดโดยทั่วไป ครับ แสดงอยู่เองว่าไม่ได้แปลว่า กาฬโรค อย่างเฉพาะ ศัพท์คำนี้มันเป็นศัพท์กลาง ๆ อยู่ในตัวครับ ผู้เขียนคำแปลพระเคราะห์สนธิจึงใส่คำว่า General ไว้ข้างหน้าเพื่อขยายความว่า อย่าไปคิดว่าจะเป็นเฉพาะ กาฬโรค นะ หรือใน AR r = AR/HA v2 ซึ่งมีคำแปลว่า Plagues. ก็จะเห็นว่าเขาเขียนอยู่ในรูปพหูพจน์ ซึ่งก็จะแปลว่า โรคระบาดต่าง ๆ หากจะให้หมายถึง กาฬโรค คงจะใช้รูปเอกพจน์ หรือเติม The เข้าเข้างหน้าไปเลยว่า The Plague. ขอบคุณครับที่นำมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับ “ในทางยูเรเนียน…” หรือได้เล่าว่าท่านปรมาจารย์ใหญ่ท่านเคยมีความเห็นไว้อย่างไรบ้าง.. เรื่องเล่านี้ก็มีเยอะครับ เป็นโอกาสดีอีกครั้งแล้วที่ผมได้รับฟังอย่างที่จะหาอ่านที่ไหนไม่ได้ เพราะเป็นการบอกกันแบบปากต่อปาก ผมก็ขอน้อมรับฟังไว้อีกครั้งหนึ่งด้วยความเคารพครับ UranianSystem @ 2009-8-22 08:10 เสาร์+เนปจูน-เมษ โรคระบาดโดยทั่วไป ส่วน เมษ+ฮาเดส ท่านแปลไว้ว่า “โรคระบาด” ถ้าจะแปลให้ชัด ควรใช้ว่า “โรคระบาดต่าง ๆ” เพื่อให้สื่อว่าไม่ใช่หมายถึงโรคเดียวนะ แต่ท่านแปลไม่ให้เปลืองกระดาษที่จะพิมพ์ในสมัยก่อน และ “ต่าง ๆ” ที่ควรต่อท้ายนั้น ก็ลดเสียได้เพราะไม่ได้ทำให้คำแปลชัดเจนขึ้นในทางการนำไปใช้ในทางปฏิบัติสำหรับคนส่วนใหญ่เลย ผมคิดว่าท่านก็เลยไม่ใส่ไว้ ก็เดาเอานะครับถึงเจตนาของท่าน ท่านที่สนใจภาษาอังกฤษนั้น หากกลับไปอ่านต้นฉบับ จะเห็นนัยบางอย่างที่ลึกซึ้งอันมีอยู่ แต่ไม่อาจถ่ายทอดเป็นภาษาไทยได้โดยรวบรัด ครั้นว่าท่านจะแปลยืดยาวก็เปลืองกระดาษ และอาจทำให้ยิ่งเข้าใจไปทางอื่นเลยก็ได้ หรือบางคนจะยิ่งงงอีกต่างหาก (ยิ่งสำหรับมือใหม่ จะเพิ่มคำถามขึ้นอีกมากว่า ว่าช่างแปลไปได้อย่างไร จะใช้ในกรณีใดกันบ้าง) จิตวิญญาณของ Alfred Witte นั้นสังเกตได้ว่านิยมแปลสั้น ได้ใจความและคลุมความทั้งหมดไปในตัว อาจเป็นข้อดีของภาษาเยอรมัน (ต้นฉบับที่แท้) และภาษาอังกฤษ (ซึ่งผู้แปลมาได้เลือกศัพท์ที่เก็บความหมายทั้งหมดไว้ด้อย่างใกล้เคียงที่สุด) ภาษาไทยก็มีข้อดีอื่น ๆ และประสานข้อดีของภาษาอื่นเข้ามาด้วย เช่น บาลี สันสกฤต จีน ที่เรานำมาแทรกใช้อย่างกลมกลืน จึงปัจจุบันเราไม่ทราบแล้วว่าศัพท์ใดนำมาจากภาษาใดบ้าง แต่เราไม่มีข้อดีอีกบางประการในการใช้ทั่วไป เช่น เดิม s เพื่อทำให้แสดงถึงจำนวนที่มากกว่า 1 เราใช้ Adjective เป็นหลัก คือเติมแต่คำขยาย เช่น ต่าง ๆ หลาย ๆ เยอะแยะ มาก ๆ มั่ก ๆ เป็นต้น ผมก็แสดงความคิดเห็นแบบเล่าให้น่าสนใจแตกแขนงออกไปในเรื่องภาษา มันเป็นจริตส่วนบุคคลน่ะครับ คิดว่าบางคนอาจจะชอบ (บางคนที่ไม่ชอบก็ต้องขอโทษไว้ ณ ที่นี้ด้วย ที่แสดงความคิดเห็นยืดยาวไป อย่างไรเสียก็ต้องไม่ลืมว่า เป็นเพียงความคิดเห็นหนึ่งเท่านั้น Just a comment. Only a comment.) uranian @ 2009-8-22 09:53 ดวงเมือง คนอื่นไม่ใช้ แต่ข้าพเจ้าใช้ จังหวะฟ้าใดๆย่อมใช้พยากรณ์ได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าใช้อย่างไรมากกว่า เคยได้ยินมาเหมือนกันว่า อ.ท่านพูดว่า ดวงวางเสาหลักเมือง ก็เหมือนดวงปลูกบ้านนั่นแหละ มันก็ให้ข้อมูลบางอย่างได้ แต่อาจไม่ละเอียดทั้งหมด แต่ก็บอกภาพกว้างๆได้ว่า ปีนี้บ้านเราจะเป็นยังไง แล้วจึงมาดูอย่างอื่นต่อ เคยตั้งข้อสังเกตุไว้นานแล้ว ว่าลัคนาดวงเมือง อยู่ที่จุดจุลทวาร (ทำมุม 45 องศา กับเมษ)ดัง แต่ก็อย่างว่าแหละครับ ใครจะใช้หรือไม่ใช้ ก็แล่วแต๊….. kradarnhora @ 2009-8-22 21:50 ก. เรื่องโรคเปล็ค นั้นผมเน้นเฉพาะกาฬโรค แต่อย่างอื่นถูกต้องคับ |