เมื่อมนุษย์คนแรก เหยียบย่างลงบนดวงจันทร์ คือก้าวสำคัญของมนุษยชาติ

การสำรวจไปในอวกาศ คือการเปิดสู่พรมแดนใหม่ (New Frontier) ซึ่งเป็นจิตวิญญาณที่สำคัญอย่างหนึ่งของอเมริกันชน เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 (วันนี้ในอดีตเมื่อ 40 ปีก่อน) อเมริกาได้มีย่างก้าวที่สำคัญ (และกล่าวน่าฟังนั้น ก็ว่าเป็นก้าวที่สำคัญของมนุษยชาติทั้งผองด้วย) คือการนำยานอาพอลโล 11 ที่มีมนุษย์ไปด้วยในยานลงจอดบนดวงจันทร์ มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ไปทั่วโลก ซึ่งมีคนเฝ้าดูด้วยใจระทึกพร้อมกันราว 500 ล้านคน
 
ที่จริงก่อนหน้านั้น 10 ปีคือเมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1959 สหภาพโซเวียต ได้นำยานลูนาร์ 2 ไปลงสัมผัสผิวดวงจันทร์มาก่อนแล้ว เสียแต่ว่าไม่มีมนุษย์ไปด้วยในยาน แต่ก็เป็นการเร่งเร้าที่สำคัญต่อคู่แข่งขันทางอำนาจและการเมือง (ซึ่งแสดงแสนยานุภาพแบบเย็นเฉียบผ่านทางเทคโนโลยีวิทยาการ) อย่างอเมริกาให้ต้องค้นคว้าทำงานกันอย่างหนักเพื่อจะพาคนตัวเป็น ๆ ไปในยานและเหยียบจันทร์ได้ใน 10 ปีต่อมานั่นเอง
 
ข้อมูลที่ละเอียด อ่านได้ที่วิกิพีเดีย ตามลิงค์นี้ -> http://en.wikipedia.org/wiki/Moon_landing และ http://en.wikipedia.org/wiki/Apollo_11
 
SU = ME = VE = ME/VE = AD
วันนี้ (SU) มีการสนทนากัน (ME) อย่างสุขสันต์ (VE) ถึงเรื่องดวงจันทร์ (AD หรือ AD, JN โดยที่ AD คือก้อนหรือหิน JN คือหญิงและอันเป็นที่ดึงดูดใจอย่างคลั่งไคล้)
 
 
AR = JU.UR.AP = KR = VU = BA = PA = JN = PA/JN
ในโลกนี้ (AR) ได้มีความสำเร็จทางวิทยาการที่ล้ำสมัย (JU.UR.AP) ครั้งยิ่งใหญ่ (KR) เกี่ยวกับเครื่องจักรกลไก (VU) ซึ่งถือเป็นการบรรลุซึ่งความฝัน (BA) อันถูกทำให้เป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ (PA, JN, PA/JN) หรือไม่ก็เป็นการยกเมฆ (Clairvoyance) (PA, JN, PA/JN)
 
 
SU/AR = NO = MA = NE = MA/NE
คนทั่วโลก (SU/AR) เห็นเป็นเรื่องที่พิเศษ (NO) แห่งปฏิบัติการที่น่าเคลือบแคลงสงสัย (MA, NE, MA/NE)
 
 
ลองดูวิดีโอคลิปนี้ประกอบดังนี้
หลายคนไม่เชื่อว่ายานอาพอลโล 11 ได้ไปเหยียบดวงจันทร์จริง ๆ (รวมทั้งอาพอลโลอื่น ๆ ที่ตามมา เช่น อาพอลโล 14, อาพอลโล 15, อาพอลโล 16 เป็นต้น) โดยในวิดีโอมีข้อน่าสงสัยบางประการ เช่น
  • การแกว่งของธงชาติอเมริกันที่นำไปปักนั้น โดยที่บนดวงจันทร์ไม่มีลมหรืออากาศที่หนาแน่นเพียงพอต่อการหน่วงหรือไหวเช่นนั้น ซึ่งอาจเห็นได้ว่ามีการไหวเมื่อนักบินอวกาศสะบัดหรือเดินผ่าน
  • การกระโดดของนักบินอวกาศที่ไม่ได้ลอยช้า ๆ แต่เหมือนกระโดดอยู่บนโลกในบางช่วงบางตอน
  • การมีแสงแฟลชพรึ่บขึ้นมาในบางจุดของภาพ
 ลองดูวิดีโอคลิปนี้ประกอบดังนี้
หลายวิดีโออาจจะถูกตัดต่อหรือแต่งภาพก็เป็นได้ หากค้นจาก YouTube.com ก็จะเจอวิดีโอคลิปอีกมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ รวมทั้งสารคดียาว ๆ ให้ดูกันเป็นเรื่องเป็นราว แต่นี่ก็เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ เพราะในสมัยนั้นมันก็เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ ไม่น่าเชื่อ หรือยากที่จะเชื่อจริง ๆ เสียด้วย การที่ใครที่จะไม่เชื่อจึงเป็นเรื่องธรรมดา การที่ใครเชื่อสิเป็นเรื่องแปลก เพราะเรื่องนี้มันก็เป็นเรื่องแปลกจริง ๆ เสียด้วย!
 
ที่จริงแล้วไม่ว่านั่นจะเป็นเรื่องจริงหรือหลอก เราก็บอกได้ยาก เพราะสิ่งต่าง ๆ บรรดามีที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้น จะเกิดมีได้ก็แต่ต้องมีจินตนาการและความใฝ่ฝันมาก่อนทั้งสิ้น อะไรที่มนุษย์คิดไปถึงเราจึงไปถึงได้ รวมถึงเป้าหมายสูงสุดทางศาสนาหรือความเชื่อหรือศรัทธาบางอย่าง เราไม่รู้หรอกว่ามีอยู่จริงหรือไม่ แต่เราหวังเสมอว่ามันมีอยู่เพราะเราอยากให้ชีวิตเราเกิดมาเพื่อบางสิ่ง มันรู้สึกดีที่จะมีเป้าหมายชีวิตที่สูงสุด
 
จินตนาการ ความใฝ่ฝัน ความเชื่อ ความศรัทธา นั้นมีอยู่จริง แต่สิ่งที่จินตนาการ ใฝ่ฝัน เชื่อ หรือศรัทธานั้นสิจะใช่สิ่งจริงหรือไม่... คงจะเป็นเรื่องอันรู้ได้เฉพาะตนหรือเฉพาะกลุ่มคนนั้น ๆ นั่นเอง!
 
โหราศาสตร์ก็เป็นเรื่องของความเชื่อหรือศรัทธาอยู่อย่างมากมาแต่โบราณกาล และฝังแน่นเสียด้วย (เขาว่าโหราศาสตร์ถือว่าเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้กันในปัจจุบันมีมากที่มาจากโหราศาสตร์แต่เราไม่รู้ตัวกัน) 
 
ตลอดเส้นทางวิวัฒน์แห่งปัญญามนุษย์ มีโหราศาสตร์หรือวิธีการพยากรณ์เกิดขึ้นหลายแบบ แต่ละคนแต่ละกลุ่มก็เชื่อแตกต่างกันไป ตามที่แต่ละแบบนั้นตอบปัญหาให้แก่ตนได้ การพัฒนาโหราศาสตร์แบบใหม่ ๆ ขึ้นแล้วจะทำให้เป็นที่ยอมรับนั้นย่อมยาก เพราะมันคือการท้าทายต่อความเชื่อ แลศรัทธา...
 
โหราศาสตร์ยูเรเนียนนั้นเดินทางมาราวร้อยปีแล้ว และยังจะพัฒนาต่อไปอีก โดยมีผู้ที่ทำการพัฒนาใหม่ ๆ ต่อยอดด้วยอาศัยหลักการเดิมนั้นเองอยู่เสมอ เช่น
 
  • ด้วยการเพิ่มเติมปัจจัยหรือดาวบางอย่างเข้าไป
  • พิสูจน์ใช้สูตรในขั้นละเอียดอย่างสูงขึ้น
  • แยกแยะเรื่องราวและเฟ้นหาจังหวะเวลาแสดงผล
  • การใช้ระยะวังกะที่เล็กในระดับที่เข้าใกล้ศูนย์
  • การใช้จุดพิเศษบางจุดเพื่อช่วยบ่งชี้ความแรง
  • การผสมข้ามวงดวงหรือผสมด้วยคณิตศาสตร์ที่แตกต่างออกไป
  • การปรับมุมมองใหม่ในมิติอื่น ๆ
เป็นต้น
 
การตั้งคำถามกับเรื่องที่ยังหลีกเลี่ยงที่จะตอบกันหรือตอบกันไม่ได้จะยังคงมีต่อไป ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อหวังถึงความรู้ที่แท้ หากแต่เวลาทั้งชีวิตนั้นก็ยังน้อยไป เราอาจต้องอาศัยเวลาหลายชั่วโคน ผู้ที่รู้ก่อนอาจจะถ่ายทอดให้รุ่นถัดไป เพื่อค้นคว้าวิจัยกันต่อไป หากพรมแดนแห่งความรู้แจ้ง (Frontier of Enlightenment) นั้นมีอยู่ข้างหน้าอย่างแน่นอน ก็จะต้องถูกสัมผัสในที่สุดหากว่าผู้ที่เดินทางนั้นกำลังเดินถูกทาง!
Comments