สึนามิ ชายฝั่งชิลี ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปสู่ญี่ปุ่น เกิดเมื่อ 23 พฤษาคม ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) สูญหาย 200 คน

คลื่นสึนามิเกิดขึ้นบริเวณชายฝั่งชิลี แล้วเดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกระยะทางกว่า 17,000 กิโลเมตร ไปสู่ญี่ปุ่น มีผู้สูญหายกว่า 200 คน เหตุการณ์เกิดเมื่อ 23 พฤษาคม ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503)

ภาพดาวในวันดังกล่าวเป็นอย่างนี้

พบข้อมูลว่า

SU = SA = VT = PL = ZE = HA = KR = AP = CH = BA

นับว่าเป็นวันหนึ่งในปีนั้นที่ดาวเดี่ยวทำมุมกันเป็นจำนวนมากอย่างยิ่ง และอาทิตย์ (SU) ซึ่งแปลว่า วันนี้ ก็เข้าทำมุมกระตุ้นให้แสดงผล (Trigger) ซึ่งก็แปลให้เข้ากับเรื่องได้ไม่ยากเลย สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว อย่างนี้ (และใคร่จะแปลแบบเข้าเข้างตัวเอง แปลยังไงมันก็ถูกทุกครั้ง นี่เป็นธรรมชาติของ "หมอดู")

เมื่อสำรวจใน "มิติ" (Dimension) หรือ "ระนาบ" (Plane) ของ NE+ZE-AR ได้พบว่า

AR = SA = UR = PA = ME

จากข้อมูลนี้ ก็เป็นเครื่องช่วยเน้นย้ำได้ว่า NE+ZE-AR ซึ่งแปลว่า การถั่งโถมพุ่งใส่ของน้ำจากธรรมชาติหรือโลก (สึนามิ) นั้นมีข้อมูลที่บ่งชี้อย่างชัดเจน

ขอสงวนที่จะเปิดเผยมุมมอง  "มิติ" (Dimension) หรือ "ระนาบ" (Plane) เพราะได้พบว่ามีผู้ชอบ "ลอก" ทั้งสาระและถ้อยคำของผู้อื่นไปใช้โดยมิได้แสดงมารยาทอันควร! โดยมิใช่สักแต่ว่านำไปใช้โดยไม่เอ่ยนามให้เกียรติ หรือจะอ้างเองเออเองว่า ที่ไม่ได้เอ่ยนามก็ไม่ได้แปลว่าไม่ให้เกียรติ ก็แค่แปลว่า ไม่ได้บอกว่า ติดสาระและถ้อยคำมาจากใครเท่านั้นเอง! แต่ใจน่ะมีสำนึกนับถืออยู่ตลอดว่า ที่ว่าบางคนชอบมีพฤติกรรมชอบเอาของเขานี่ไม่ได้หมายถึงว่าเขาเอาของผมไปคน (เดียวดอก) นะ เดือดร้อนแทนคน (อื่น) ที่เขาไม่แสดงอาการเดือดร้อนน่ะ ด้วยว่าเขาจำต้องทนเพราะมีผลประโยชน์ต่างต้องสงวนท่าทีกันอยู่! (ระบบการให้เครดิตแก่ความรู้หรือปัญญาในประเทศไทยยังคงไม่จูงใจให้ผู้ทำงานค้นคว้าวิจัยในศาสตร์เฉพาะทางให้อยากแสดงความรู้นัก)

ในที่สุด ผมก็เข้าใจได้ในระดับหนึ่งว่า ทำไมวงการโหราศาสตร์มิได้เป็นที่ยอมรับอย่างวิทยาศาสตร์ นั่นก็เพราะระบบการให้เกียรติแก่ผู้ค้นคว้า วิจัย และค้นพบในสิ่งใหม่ หรือมุมมองใหม่ ๆ มักถูกขโมย หรือพยายามหาหลักฐานหักล้างว่ามิใช่สิ่งใหม่ ว่ามีผู้คิดไว้นานแล้ว เขามีสิทธิ์ที่จะใช้ดุจคิดได้เอง (แต่ก่อนหน้านั้น ไม่ยักกับเคยมีใครเข้าใจ หรือคิดได้ แค่มีบันทึกที่ไม่มีใครเข้าใจ หรือเข้าใจไม่แตกฉาน หรือยังอธิบายได้ไม่ถูกต้อง แม้กระทั่งไม่เคยมีใครให้ความสนใจ ปล่อยทิ้งไว้ดุจที่รกร้าง เมื่อมีผู้คิดตีความได้ชัดแจ้งขึ้น ตัวเองก็แอบนำไปความรู้นั้นไปใช้ โดยมิพักต้องให้การยอมรับแก่ผู้คิดตีความขึ้นได้นั้น) รวมทั้งพฤติกรรมของนักโหราศาสตร์ หรือหมอดู "ปลอมบวช" บางคน ที่ใช้ศิลปะมากไปในการแก้ตัวเมื่อปฎิบัติวิชาชีพผิดพลาดไป (ทายผิด จิตคิดว่าต้องแก้ตัว จะแก้ตัวให้ได้ผล ก็ต้องยกสิ่งลึกลับศักดิ์สิทธิ์ขึ้นบังหน้าให้เกิดความเกรงกลัว) คือวงการโหราศาสตร์นั้นเองที่มีส่วนอย่างสูงในการทำให้วิชาการหลักและวงการของตนเองนั้นเอง...เสื่อม!

คอปเปอนิคัสเสนอแนวคิดว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ ไม่มีใครใส่ใจ จนกระทั่งกาลิเลโอพิสูจน์ให้เห็นได้ด้วยการสังเกตจากกล้องโทรทรรศน์และคณิตศาสตร์อย่างชัดแจ้ง และต่อมา นิวตันก็ยืนยันด้วยคณิตศาสตร์ผสมฟิสิกส์อย่างชัดแจ้งขึ้นอีก ว่าทำไมจักรวาลจึงเป็นเช่นนั้น

ในวงการโหราศาสตร์ก็มีเรื่องคล้าย ๆ กันด้วย คือในอดีตอันไกลนั้น นักโหราศาสตร์ในยุคหนึ่งได้คิดเรื่อง Arabian Part (หรือ Lot) ขึ้นใช้ บางคนก็พูดถึง Intersection Point ทิ้งไว้ (ว่าคือจุดกึ่งกลางระหว่างปัจจัย A กับ B) คนส่วนใหญ่ก็ไม่ใส่ใจ อาจเพราะไม่เข้าใจ หรือจะคำนวณยาก หรือรู้สึกว่าหาประโยชน์ไม่ได้ น้ำหนักน้อย หรือกลัวจะทำให้เกิดจุดที่ใช้พยากรณ์มากเกินไป จนเกินจะตีความได้ในทางปฏิบัติ (เพราะอาจคิดว่า แค่หลักการอื่น ๆ ก็มีปัจจัยให้ใช้เยอะไปแล้ว ตีความกันไม่หวาดไม่ไหวแล้ว กรอบความคิดเช่นนี้จะทำให้ไม่อาจเรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะสิ่งที่ซับซ้อน) อัลเฟรด วิตเตอ นำมาปัดฝุ่นและยืนยันว่าหลักการ A+B-C (คือการคำนวณหา Arabian Parts) นั้นแหละคือหลักการของจริง โดยวิธีใช้ในทางปฏิบัติจะต้องทำอย่างนี้ ๆ (A+B-C = D, A+B = C+D, A-B = C-D) คือต้องมีจุดที่ทำให้เกิดดาวเข้ารูปแบบนี้ จึงจะเกิดความสมดุจและสมมาตรของพลังงาน และผลของการผสมดาวเหล่านั้นจึงจะแสดงผลเชิงประจักษได้ ซึ่งก็คือการทำงานได้ของ จตุโกณ ในมุมมองที่ต่าง ๆ อย่างขยายผลเพิ่มขึ้น และได้พิสูจน์ให้เห็นด้วยภาพเรขาและคณิตศาสตร์อย่างชัดแจ้ง รวบรวมเอาหลักการที่แท้เข้าเป็นทฤษฎีหนึ่งเดียว ทั้ง A/B (คือคำนวนจาก A+B :2 เรียกว่า Half-sum หรือ Midpoint ซึ่งคือที่บางคนเดิมเรียกว่า Intersection Point) ว่าจะใช้ได้เมื่อ A/B = C โดยเป้นภาคขยายและอธิบายว่าทำไม ตรีโกณ จึงใช้ได้ แม้ 3 ดาวจะไม่ทำมุม 120 องศาต่อกัน

ทั้ง A, A/B, A+B-C, A/B = C, A+B-C = D ทั้งหมดนั้น ถูกพิสูจน์รวมกันเป็นทฤษฎีเดียวอย่างไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน และเมื่อเขาเสนอขึ้นมาแล้ว คนอื่นยังต้องใช้เวลาอีกนานที่จะทำความเข้าใจ ว่าเออ จริงแฮะมันคือเรื่องเดียวกัน พิสูจน์กลับไปกลับมาได้ โดยใช้หลัก Solstice Point และ Antiscia

กล่าวอีกแบบได้ว่า โครงสร้างดาวต่าง ๆ นั้น ย่อยอย่างเหมาะสมแก่การพยากรณ์แล้ว ก็ประกอบขึ้นจาก A/B = C กับ A-B = C-D นั่นเอง ซึ่งก็คือ ตรีโกณ กับ จตุโกณ แต่อยู่ในรูปทั่วไป (Generalized) มากกว่า ในการใช้ดาวเดี่ยวทำมุมสัมพันธ์ถึงดาวเดี่ยวเพียง 2 ปัจจัย หรือ A = B นั้นบอกได้เพียงหัวเรื่อง ยังไม่อาจบอกผลลัพธ์หรือทิศทางที่จะเป็นไปได้ ต้องมีตั้งแต่ 3 ปัจจัยขึ้นไป (ไม่ว่าจะมาจากวงดวงใด)

แต่เมื่อคิดตามเขาจนเข้าใจแล้ว ก็รำพึงรำพันว่า โอ้! ทำไมกูไม่เป็นคนที่คิดได้วะ... อย่ากระนั้นเลย เราต้องแกล้งไม่ยอมรับมันดีกว่า เราต้องขุดคุ้ยย้อนกลับไปบ้างว่า ที่มันคิดได้นั้นไม่ใช่ของใหม่อย่างไร ต้องมีใครเคยพูดไว้ที่ไหนสักแห่งหนึ่งบ้างสิน่า ซักประโยคสองประโยคก็พอแล้ว ที่เราจะได้ยกมา) สิ่งที่ อัลเฟรด วิตเตอ คิดค้นขึ้นนั้นมีค่าเทียบเท่าได้กับทฤษฎีที่รวมแรงหรือสนามพลังประเภทต่าง ๆ ทางฟิสิกส์เข้าด้วยกันได้อันค้นหากันอยู่ทีเดียว หรือที่เรียกว่า Grand Unified Field Theory ซึ่งไอน์สไตน์ใช้เวลาที่เหลือในชีวิตค้นหามัน โดยไอน์สไตน์รวมสนามแรงโน้มถ่วงของนิวตันกับสนามแรงแม่เหล็กไฟฟ้าของแม็กซ์เวลเข้าด้วยกันได้ ซึ่งถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องยิ่งขึ้นนั้น ที่จริงไอน์สไตน์ไม่ได้รวมแรงโน้มถ่วงของนิวตันเข้ามา แต่เขาพิสูจน์ว่ามันผิดต่างหาก แล้วไอน์สไตน์ได้สร้างโมเดลหรือมุมมองการตีความใหม่ขึ้นมาต่างหากที่อธิบายได้กว้างขวางต่อกรณีต่าง ๆ ได้มากกว่า

ในปัจจุบันคนอื่นได้อาศัยการคิดค้นของไอน์สไตน์นั้น คิดเพิ่มแรงและอนุภาคแปลก ๆ อื่น ๆ ขึ้นมาอธิบายจักรวาลขนาดเล็ก (คือ อะตอม และอนุภาคที่เล็กกว่านั้น) จนแทบจะกลับสู่สามัญ (ในมุมมองของไอน์สไตน์ และคนส่วนใหญ่เข้าใจได้ง่าย ๆ แล้วในปัจจุบันในนามของสมการ E = mc2) ในชื่อว่า Theory of Everything คือทุกสิ่งล้วนมีสมบัติและพฤติกรรมเป็น สสาร-พลัง หรือ อนุภาค-คลื่น

ในยุคต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น หลายคนมีส่วนในการก่อรูปแนวคิด และร่วมกันพัฒนาเรื่องคลื่น (Wave) หรือการสั่น (Vibration) ขึ้น พร้อม ๆ กับโมเดลต่าง ๆ ซึ่งอธิบายสมบัติและพฤติกรรมของอะตอมที่เล็กจิ๋วไปจนถึงจักรวาลที่ใหญ่โต (ควันตัมฟิสิกส์ และทฤษฎี String และอื่น ๆ ที่จะจินตนาการกันขึ้นนั้น แม้จะเป็นโมเดลใหม่ แต่ก็อธิบายโดยอิงอาศัยสมบัติและพฤติกรรมของสรรพสิ่งว่าเป็น สสาร-พลัง หรือ อนุภาค-คลื่น ทั้งนั้น)

ในวงการอื่น ๆ เช่น ดนตรี ก็ใช้แนวคิดนี้สร้างระบบโน้ตเพลง ลำดับขั้นของเสียงในออกเต็ปต่าง ๆ ขึ้นว่ามีสัดส่วนต่อกันอย่างน่าสนใจอย่างไร เป็นต้น ในวงการโหราศาสตร์เองก็มี อัลเฟรด วิตเตอ เป็นคนสำคัญที่เฝ้ามองน้ำที่กระเพื่อมออกเป็นวง ว่าเมื่อมันมาถึงกันตรงกลาง มันสร้างเสริมหรือหักล้างกันความสูงและความถี่กันอย่างไร จึงเกิดสร้างทฤษฎีพระเคราะห์สนธิในมุมมองต่าง ๆ ขึ้น (ดังที่เล่ามา) อัลเฟรด วิตเตอ ทำให้คนอื่น ๆ ตื่นตัว และกลับไปคุ้ยดูหนังสือโบราณนับจาก ปโตเลมี (Ptolemy) เป็นต้นมา (บางคนก็ไปไกลกว่านั้น และสับสนกันไปหมด ในทางที่จะนิยมของโบราณกันขึ้นอย่างมาก โดยไม่ได้พิสูจน์ว่าอะไรใช้ได้ หรือใช้ไม่ได้ หรือควรจะนำกลับมาหรือไม่)

ผมอยากจะกล่าวยกย่อง อัลเฟรด วิตเตอ ผู้เป็นต้นคิดโหราศาสตร์ยูเรเนียน ว่าดุจดั่งเป็นเหมือนโคเปอนิคัส, กาลิเลโอ, นิวตัน และไอน์สไตน์ ในคนเดียวกันทีเดียว!

หลักการที่ อัลเฟรด วิตเตอ นำภาพเรขาและคณิตศาสตร์มาพิสูจน์ได้นั้น เมื่อเข้าใจกันแล้ว พบว่ามันช่างเรียบง่ายเหลือเกิน (ดุจเดียวกันกับสมการ E = mc2ที่แม้เด็ก ๆ และแม่บ้านก็รู้จักดี พบเห็นได้มากที่สุด แม้บนเสื้อยืด) แต่มันก็ยังมีส่วนที่ยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดแจ้งอยู่อีก ซึ่งท้าทายให้พัฒนากันต่อไป บางคนที่ไม่รับความท้าทายนั้นก็หันกลับไปหาสิ่งเก่า ๆ และพากล่าวง่าย ๆ สบาย ๆ ว่าโหราศาสตร์ยูเรเนียนคือของเล่น! (คำพูดนี้มันมีนัยหลายอย่าง จนไม่อยากจะตีความ) แต่ก็ใช้ชื่อโหราศาสตร์ยูเรเนียนประกาศเป็นทางหากินกันอยู่ทุกวัน เพียงเพราะว่าชื่อมันขายได้!

ในการสร้างเสริมให้ทุกคนมองสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริงหรือสมจริงนั้น ผมพยายามมาตลอดที่จะแสดงให้เห็นว่า โหราศาสตร์นั้นก็เหมือนเศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ และควันตัมฟิสิกส์ คือมันเป็นศาสตร์หนึ่งที่อยู่บนสมมติฐานหรือตัวแปรต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะผิดพลาดได้ (แต่เมื่อพวกวิชาอื่นนั้น พยากรณ์ผิดกันไม่มีใครคาดหวังมากนัก เหมือนเข้าใจว่าผิดกันได้ แต่โหราศาสตร์ทายผิดเมื่อใด รู้สึกว่าจะถูกยิ้มเยาะเป็นพิเศษ) เพราะเราพยากรณ์ไปจากหลักการหรือทฤษฎี แต่ในความเป็นจริงนั้น ตัวแปลต่าง ๆ มันมิได้เป็นไปตามทฤษฎีเป๊ะ ๆ เมื่อพยากรณ์ออกไปหาใช่ว่าผู้พยากรณ์จะมีความมั่นใจเต็มที่ แต่อยู่ในภาวะที่ต้องทายตามความคาดหวังหรือตามสถานการณ์ (ผู้ใช้บริการ "หมอดู" ก็ตั้งความคาดหวังไว้สูง และรู้สึกสนุกที่จะท้าทายในมุมต่าง ๆ ด้วยคำถามแปลก ๆ อยู่เป็นธรรมดา "หมอดู" ก็ต้องพยายามหาวิธีมาตอบไปให้ได้ แม้จะเป็นหลักที่หลักลอย!) มันก็ย่อมมีความผิดพลาดตามระดับวิจารณญาณของผู้พยากรณ์กับข้อมูลที่มีนั่นเอง!

Comments