เครื่องบินตก ยังหาสถานที่เกิดเหตุและนักบินไม่พบ ตอน 6

คราวนี้มาพูดถึงการพยายามใช้ระยะวังกะให้น้อยที่สุดดูบ้าง เพราะถ้าเราไม่เชื่อเรื่องวังกะเป็น 0 หรือใกล้เคียง 0 ที่สุด เราจะหาพิกัดภูมิศาสตร์ให้เป็นที่เชื่อถือไม่ได้

แต่การยอมให้มีระยะวังกะราว ๆ 1 องศา (โดยทั่วไป) นั้น ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะพิสูจน์ได้ว่าใช้กันมาตลอดราว 100 ปีแล้ว สามารถใช้พยากรณ์หรืออธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้

โดยผมคิดว่าเป็นลักษณะตะล่อมเข้าไปหาคำตอบด้วยข้อมูลที่มองเห็นง่ายและมีความสำคัญมาก ๆ ค่อย ๆ ตบเข้าไปหาศูนย์กลาง เพราะเรื่องที่สำคัญก็จะมีข้อมูลบ่งชี้มากมาย จึงอาจเข้าสู่เรื่องได้หลายทางและใช้ข้อมูลเพียงบางส่วน และไม่ต้องเป๊ะ ๆ โดยมีประสบการณ์และความสามารถส่วนบุคคลที่ช่วยในส่วนที่เหลือได้อย่างมาก

ในสมัยนี้ที่เราอาจคำนวณได้ละเอียด และซ้ำ ๆ โดยไม่เหน็ดเหนื่อยแบบแต่ก่อนแล้ว ผมคิดว่ามีทางที่จะสำรวจข้อมูลในระดับที่ละเอียดขึ้น หรือใกล้วังกะ 0 เพื่อยืนยันให้แน่น (คล้ายกับเชือกที่ละเอียด มัดแน่นอยู่ที่ใจกลางเรื่องนั้น)

ถ้าเราทำเช่นนั้นได้ เราจะทำให้เกิดการยอมรับได้ แต่ถ้าเราใช้ข้อมูลที่มีค่า Error ของแต่ละชุด ผสมกันไปมา ทุกชุดก็มี Error ที่เป็นผลรวมแกว่งไปมา มันก็จะมีข้อสงสัยอยู่ว่า ย่อมมีข้อผิดพลาดได้หลายทาง ๆ และเข้าใกล้ใจกลางพิกัดได้เพียงระดับเส้นผ่านศูนย์กลางหนึ่ง (ซึ่งไม่รู้ว่าจะแค่ไหน)

หากเรื่องเป็นหินอัญมณีรูปเหลี่ยม การเข้าหาใจกลางเรื่องก็คล้ายกับเราเจียระไนถูกมีด หรือเหลาไปทีละนิดจนได้ทรงกลม แต่ผิวคงจะไม่โค้งกลมเต็มที่ คือผิวเป็นเหลี่ยมที่ถูกตัดด้วยมีดที่ลบเหลี่ยมไปมากที่สุด และจะเล็กที่สุดได้ระดับหนึ่ง และลูกที่ได้ก็ไม่กลม คือจะเป็นลูกกลมที่มีพื้นผิวเป็นเหลี่ยมเล็ก ๆ เต็มไปหมด เราจะบอกไม่ได้ชัดว่า ลูกกลมสุดท้ายที่เราหาได้นั้นกลมแค่ไหน หรือเล็กจิ๋วเพียงใด เพราะมีดที่เราใช้แต่ละชุด (ข้อมูล) นั้นก็ปาดผิวไปมาด้วยค่าผิดพลาดแตกต่างกันไป สุดท้ายเราอาจได้ส้มที่กลมแป้น หรือมะปรางรูปรี (ที่มีผิวอันน่าสงสัยว่าจะขรุขระเพียงใด)

หากเราเชื่อว่าวังกะ 0 นั้นมี เราอาจหาสมการชุดหนึ่ง (อาจซับซ้อนหน่อย เพราะในเรื่องที่ละเอียด ต้องการสมการที่ละเอียดด้วย มิใช้ว่าจะใช้สมการหยาบจำนวนมากมาอธิบายเรื่องที่ละเอียด ในระดับที่ระบุพิกัดภูมิศาสตร์ได้) ที่เข้าสู่พิกัดทางภูมิศาสตร์ที่หาได้จริง (และเราจึงจะอธิบายได้ว่า ฝาแฝดที่เกิดต่างกันเพียงประมาณ 1 นาทีนั้นจะมีชีวิตต่างกันอย่างไร ตายต่างวันกันได้อย่างไร ซึ่งนี่เป็นเหตุผลที่...และความหวังของผู้นิยมโหราศาสตร์ยูเรเนียนส่วนใหญ่)

ตัวอย่าง ดวงนักบิน ภาคิน ใช้เวลาเกิด 22:35 น. (ยืนยันไม่ได้) สัญญาณหายไป 10:42 น. (ยืนยันไม่ได้ แต่เป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้มากที่สุดที่มีอยู่)

SU r = SUt/NEt
เจ้าชะตากับ/ขับเครื่องบิน

ME+SA-NE t
การเดินทางโดยเครื่องบิน การเดินทางโดยไม่กลับมาอีก
= SU t = NO t = MO t = MC (วังกะกว้าง ๆ สำหรับปัจจัยบอกเวลาจำนวนมาก ถือว่าโอเค เป็นมีดขนาดใหญ่ ถางไปก่อน)
= AR t (วังกะ 0:03) ข้างนอกนั้น
= SU/MO t (วังกะ 0:01) ชั่วโมงนี้ของวันนี้
= AS t (วังกะ -0:14) ณ ที่นั้น
= SU+MO-MC t (วังกะ 1:01 กว้างไปหน่อย) วันนี้ชั่วโมงนี้ขณะนี้ (นาทีซึ่งใกล้เคียงที่สุด)

จากตัวอย่างนี้ เราอาจขยับ AS, MC ทีละน้อย ๆ เพื่อให้ = AS t และ SU+MO-MC t  อย่างสนิทลิปดา (หรือพิลิปดา) ที่สุดได้

ข้อมูลอื่นก็ยืนยันกับตัวนักบินทั้งสอง เช่น

NE.KR.MA t = ... (ดวงนักบิน...)
อุบัติเหตุในเครื่องบิน ปฏิบัติการสำคัญที่ปราศจากผลสำเร็จ

แต่ก็เป็นข้อมูลที่ไม่ Time Critical/Sensitive พอ สู้ ME+SA-NE t ไม่ได้ (ปัจจัยเล็กที่สุดในสมการแรกคือ MA มีความไวน้อยกว่า ME ซึ่งเป็นปัจจัยเล็กที่สุดในอีกสมการหนึ่ง)

มีตัวแปรสำคัญ 3 ตัวคือ เวลาเกิดเหตุการณ์ กับพิกัดภูมิศาสตร์ (ละ, ลอง) ถ้าเราเชื่อว่าสมการ ME+SA-NE นั้นชี้ชัดได้ อาจลองเขียนโปรแกรมกวาดไปทั่ว ๆ บริเวณ และเวลาในระยะนั้น โดยขยับค่าตัวแปรทั้ง 3 ทีละ 0.01 จนได้ค่าที่ดีที่สุด (สนิทลิปดา พิลิปดาที่สุด) ได้

ในดวงนักบิน รณพ นั้น ME+SA-NE / SU+MO-MC t = MA/SA r (วังกะ 0:35) = SA v1 = SA t ถือเป็นข้อมูลการเสียชีวิตอย่างกว้าง ๆ หรือประกอบอีกชุด

ME+SA-NE // [SU+MO-MC / AS] t = SU v1
การเดินทางโดยเครื่องบินโดยไม่กลับมาอีก // วันนี้ชั่วโมงนี้นาทีนี้/ที่นี่ = เจ้าชะตาในวัยนี้

Comments