ข้อมูลจากหนังสือ "อักษรไทยมาจากไหน?" ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ พิมพ์ครั้งแรก ก.ค. 2548 ราคา 220 หน้า 45 กล่าวถึง "จารึกเนินสระบัว" พบที่ อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี เขียนด้วยอักษรปัลลวะ (อักษรอินเดียใต้) และ ภาษาขอม สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย มี 27 บรรทัด ข้อความตอนต้นระบุชื่อ "พุทธสิระ" ประดิษฐานพระศาสดาไว้เมื่อวันพุธ แรม 1 ค่ำ เดือนเจ็ด พ.ศ. 1304 (ค.ศ. 761 ตรงกับมหาศักราช 683) เชื่อได้ว่า "พุทธสิระ" ไม่ใช่ภิกษุพื้นเมืองสุวรรณภูมิ หากเป็นชาวสิงหลจากลังกาทวีปเดินทางเข้ามาสมัยนั้น เป็นปราชญ์อักษรศาสตร์ ถึงขนาดรจนากวีนิพนธ์เป็นภาษามคธ เป็นคำฉันท์วสันตดิลกเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เมื่อ แรม 1 ค่ำ เดือน 7 วันพุธ (มรเตง) ฉลูนักษัตร แรม 1 ค่ำ จันทร์ จะเลยจุดเล็งอาทิตย์ไปหน่อย เพราะจันทร์เล็งอาทิตย์คือขึ้น 15 ค่ำ หรือเพ็ญเต็มดวง (Full Moon) เดือน 7 ทางจันทรคติ ก็จะตกราวๆ มิ.ย. (เดือน 6 สุริยคติ) และถูกบังคับด้วยว่าต้องเป็นวันพุธ ตรวจสอบแล้วพบว่า ในปีนั้นมีวันเดียว ก็คือจะเป็นวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 1304 (ค.ศ. 761) เป็นวันพุธ ใกล้แรม 1 ค่ำที่สุด ซึ่งก็น่าจะเป็นเดือน 7 ใกล้ที่สุดด้วย ตั้งดวงโดยใช้เวลา "เที่ยงแท้" คือเมอริเดียนกุมอาทิตย์ ก็ประมาณ 12:15 น. บ่งชี้ถึงจุดมุ่งหมายแห่งวัน อาทิตย์ 90 พลูโต 45 อังคาร 22:30 มฤตยู และ โครโนส^จันทร์ บ่งชี้การใช้กำลัง (สลัก ตอก แกะ ทำจารึกขึ้น) ด้วยอารมณ์อันสูงส่ง ศุกร์ กุม เนปจูน ด้วยความรัก ความเชื่อ ทางศาสนา, พุธ กุม วีสตา โดยความคิด การอุทิศตน ด้วยศรัทธา, เซอุส กุม ฮาเดส ให้เป็นโบราณวัตถุ ข้อมูลเพิ่มเติม: http://kanchanapisek.or.th/kp8/pjb/pjb603f.html http://www2.sac.or.th/databases/jaruk/th/main.php?p=ZGV0YWls&id=193 |