การวิจัย พัฒนา และสังเคราะห์ความรู้

หัวข้อที่ได้ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา (แล้วแต่จะใส่คำใดที่คล้าย ๆ กันอีกก็ได้) เพื่อให้เกิดความแจ้งชัด ถึงคุณประโยชน์และขีดจำกัด และเพื่อให้ได้รับผลโดยตรงหรือข้างเคียงเป็นการสังเคราะห์ความรู้หรือมุมมองใหม่บางอย่าง มีดังนี้
  • การใช้ระยะวังกะ 1 องศาอย่างเคร่งครัดในการสำรวจข้อมูลดวงชะตาและพยากรณ์
  • การใช้ระยะวังกะอย่างยืดหยุ่นสำหรับดวงกำเนิด (Radix) และดวงจรปัจจุบัน (Transit) ในระดับมุมกุมราว ๆ +/- 5 องศา และสำหรับมุมอื่น ๆ ก็ลดหลั่นกันลงไปตามสัดส่วนของฮาร์โมนิกส์ (Harmonics, Aspects, Angles แล้วแต่จะเรียก)
  • การใช้ระยะวังกะแบบสนิทลิปดา (และพิลิปดา) สำหรับการพยากรณ์ด้วยโค้งสุริยยาตร์ (Solar Arc Directions) หรืออย่างมากให้ไม่เกิน 0:02 ถึง 0:03 องศา เผื่อสำหรับความคลาดเคลื่อนทั้งปวง
  • การใช้ระยะวังกะแบบยืดหยุ่นราว ๆ +/- 2 ถึง 3 ลิปดา สำหรับการพยากรณ์ด้วยโค้งสุริยยาตร์ (Solar Arc Directions)
  • การใช้ระยะวังกะแบบเข้มงวดราว ๆ 15 ลิปดา ในการสำรวจข้อมูลดวงชะตาและพยากรณ์
  • การใช้ระยะวังกะตามชนิดหรือระยะห่างหรือความเร็วในการโคจรของปัจจัย ดาววงในให้ระยะวังกะมาก ดาวงนอกให้ระยะวังกะน้อย
  • การใช้ระยะวังกะตามชนิดข้อมูล ว่าเป็นดาวเดี่ยว, ศูนย์รังสี, จุดอิทธิพล โดยใช้ระยะวังกะที่หารด้วยจำนวนดาวที่เกี่ยวข้อง
  • การใช้จุดสะท้อน ได้แก่ จุดเจ้าชะตาสะท้อน (-PP), ดาวเดี่ยวสะท้อน (-A), ศูนย์รังสีสะท้อน (-A/B) ประกอบในการพยากรณ์ด้วยหลักการทั้งหมดของโหราศาสตร์ยูเรเนียน
  • การศึกษาการแสดงผลเชิงประจักษ์ที่สอดคล้องกับเหตุการณ์หรือการพยากรณ์ของดวงโค้งสุริยยาตร์ (Solar Arc Directions) ที่สัมพันธ์กับดวงกำเนิดในแบบต่าง ๆ ตั้งแต่ A v = B r ไปจนถึง A+B-C v = D+E-F r รวมทั้งการไขว้ข้ามวง เช่น Av1/B = C, Av2/B = C เป็นต้น
  • การศึกษาการแสดงผลเชิงประจักษ์ที่สอดคล้องกับเหตุการณ์หรือการพยากรณ์ของดวงโค้งสุริยยาตร์ (Solar Arc Directions) โดยใช้ฮาร์โมนิกส์ตามอนุกรมอื่น ๆ ซึ่งโหราศาสตร์ยูเรเนียนมิได้รับรอง ได้แก่ H3, H6, H12, H24, H5, H7, H9, H10 และมุม 165 กับ 195 องศา
  • การศึกษาการแสดงผลเชิงประจักษ์ที่สอดคล้องกับเหตุการณ์หรือการพยากรณ์โดยใช้มุมมองที่ให้จุดตั้งรับเป็นดวงกำเนิดเสมอ เพื่อมุมมองแบบครบเครื่องของอิทธิพลจากทุกวงดวง
  • การใช้ดวงโปรเกรส (Secondary Progressions) ประกอบในการพยากรณ์ด้วยหลักการทั้งหมดของโหราศาสตร์ยูเรเนียน
  • การสังเคราะห์ดวงชะตาแบบใหม่จากความเข้าใจเรื่องเวลา (Time) ในแต่ละวันหนึ่ง ๆ คือ SU-MC สร้างเป็นดวงชะตาพิเศษ ได้แก่ ดวงประจำปี (เทคนิคการใช้เพิ่มเติมจะผสมโปรเกรสประจำปี) โดยตั้งชื่อว่า ดวงทินอธิวรรษ (SolMeridian Return) โดยตั้งดวงในวันเกิดแต่ละปีที่เวลา SU-MC t = SU-MC r และ ดวงประจำวัน โดยตั้งชื่อว่า ดวงทินอธิวาร (SolMeridian Diurnal Return) โดยตั้งดวงในแต่ละวันที่เวลา SU-MC t = SU-MC r
  • การใช้ดาวเคราะห์น้อยหลักทั้ง 4 ได้แก่ ซีรีส (Ceres), พัลลัส (Pallas หรือ Pallas Athena), จูโน (Juno) และ วีสตา (Vesta) ประกอบในการพยากรณ์ด้วยหลักการทั้งหมดของโหราศาสตร์ยูเรเนียน
  • การใช้ดาวไครอน (Chiron) ประกอบในการพยากรณ์ด้วยหลักการทั้งหมดของโหราศาสตร์ยูเรเนียน
  • การใช้ดาวแบคคัส (Bacchus หรือ Transpluto) ประกอบในการพยากรณ์ด้วยหลักการทั้งหมดของโหราศาสตร์ยูเรเนียน
  • การใช้จุดเวอร์เท็กซ์ (Vertex) ประกอบในการพยากรณ์ด้วยหลักการทั้งหมดของโหราศาสตร์ยูเรเนียน
  • การใช้จุดลัคนาศูนย์สูตร (Equatorial Ascendant) ประกอบในการพยากรณ์ด้วยหลักการทั้งหมดของโหราศาสตร์ยูเรเนียน
  • การศึกษาความแรงหรือความสำคัญในการแสดงผลเชิงประจักษ์ที่สอดคล้องกับเหตุการณ์หรือการพยากรณ์ของแต่ละโครงสร้างพระเคราะห์สนธิจากมุมสัมพันธ์ ดาวที่ประกอบว่าเป็นจุดเจ้าชะตาหรือดาววงในหรือดาววงนอก และระยะวังกะ
  • การศึกษาความแรงหรือความสำคัญในการแสดงผลเชิงประจักษ์ที่สอดคล้องกับเหตุการณ์หรือการพยากรณ์ของแต่ละโครงสร้างพระเคราะห์สนธิ โดยใช้จุดพิเศษต่าง ๆ เช่น Mp, Perch Point, Destiny Point, MOv+SUt-SUr, SUv+SUt-SUr เป็นต้น และจุดบ่งชี้เวลาประจำวันหรือสภาพโลกในช่วงนั้นของดาวจรปัจจุบัน เช่น SU/MO t, SU/MC t, AR/MC t, MC/AS t เป็นต้น และสังเคราะห์จุดพิเศษบางอย่างขึ้นใช้ เช่น Higher Destiny Point เป็นต้น
  • การสังเคราะห์จุดตรวจสอบพิเศษโดยพยากรณ์ด้วยดวงจรในขณะเกิดเหตุการณ์ คือ SU+MO-MC / AS
  • การสังเคราะห์วิธีวัดความแรงของพระเคราะห์สนธิแต่ละชุดในดวงกำเนิดว่ามีความแรงไม่เท่ากัน และแตกต่างกันไปในแต่ละดวงชะตา พระเคราะห์สนธิชุดที่มีความแรงมากจะแสดงตามโค้งสุริยยาตร์ได้อย่างเที่ยงตรงสูงโดยไม่ขึ้นกับดวงจรปัจจุบัน วิธีวัดความแรงเชิงประเภทดาว ได้แก่การทำมุมถึงปัจจัย เช่น จุดเจ้าชะตา, ดาววงนอก เป็นต้น วิธีวัดความแรงเชิงโครงสร้าง เช่น A/B = P1/P2, P1/P2 = A, PP/A = B, A/B = A, A+B-C = A เป็นต้น
  • การศึกษาความแรงหรือความสำคัญในการแสดงผลเชิงประจักษ์ที่สอดคล้องกับเหตุการณ์หรือการพยากรณ์ของแต่ละโครงสร้างพระเคราะห์สนธิ จากการทำมุมสัมพันธ์ถึงศูนย์รังสีเจ้าชะตา (Personal Midpoints) และจุดอิทธิพลเจ้าชะตา (Sensitive Personal Points)
  • การศึกษาความแรงหรือความสำคัญในการแสดงผลเชิงประจักษ์ที่สอดคล้องกับเหตุการณ์หรือการพยากรณ์ของแต่ละโครงสร้างพระเคราะห์สนธิ จากการครบวงจร หรือซ้ำกันของข้อมูลโดยใช้ดาวที่ประกอบเป็นโครงสร้างนั้นและการทำมุมถึงจุดเจ้าชะตาสลับไขว้ไปมาทั้งดาวและวงดวงในรูปแบบต่าง ๆ (ทั้งดาวเดี่ยว, ศูนย์รังสี จุดอิทธิพล และจุดอิทธิพลพิเศษอื่น ๆ คือ A/B//C, A+B+C, A-B-C) และการซ้ำแบบกันของดวงกำเนิดกับดวงจร และดาวอื่นที่ซ้ำกันอันเป็นสะพานถ่ายทอดแรง รวมถึงดาวในกลุ่มอิทธิพลเดียวกัน (เช่น SA, NE, HA, AD เป็นกลุ่มเดียวกัน เป็นต้น) และความเป็นพระเคราะห์สนธิแท้ ตามแนวทางของอาจารย์อดิเทพ ศรีรัตนไพฑูรย์
  • การสังเคราะห์จุดเจ้าชะตาเด่นในดวงชะตา (Dominance Personal Point) ซึ่งแสดงถึงความแรงหรือความสำคัญในการแสดงผลเชิงประจักษ์ที่สอดคล้องกับเหตุการณ์หรือการพยากรณ์ของแต่ละโครงสร้างพระเคราะห์สนธิ กล่าวคือในแต่ละดวงชะตา จุดเจ้าชะตา MC, AS, SU, MO, AR, NO จะแสดงผลเด่นไม่เท่ากัน เช่น บางคน MC เด่น, บางคน AS เด่น, บางคน SU เด่น, บางคน MO เด่น เป็นต้น เมื่อแสดงผลเป็นเหตุการณ์ จุดเจ้าชะตาที่เด่นจะมีอิทธิพลรุนแรงกว่าจุดเจ้าชะตาอื่น หรือเรียกได้ว่าแรงในระดับที่กำหนดทิศทางชีวิตและกำหนดการตัดสินใจของเจ้าชะตาเมื่อต้องเลือกหรือไม่เลือกอะไรหรือที่จะทำอะไร
  • การศึกษาข้อแตกต่างของความแรงหรือความสำคัญของการแสดงผลระหว่างดาวเดี่ยว (A), ศูนย์รังสี (Midpoints หรือ Halfsums, A/B), และจุดอิทธิพล (Sensitive Points, A+B-C) โดยกำหนดขอบเขตของระยะวังกะที่แสดงผลได้ในแต่ละมุมสัมพันธ์
  • การสังเคราะห์ความหมายเชิงปรัชญาของเครื่องหมาย /, +, - ในสูตรพระเคราะห์สนธิ กล่าวคือ / คือผสมกัน, + คือผุดเกิดใหม่, - คือมิติ
  • การศึกษาความหมายเชิงปรัชญาของจุดอิทธิพลพิเศษ คือ A+B+C
  • การศึกษาเพื่อพิสูจน์หรืออธิบายถึงการทำงานได้ของโหราศาสตร์ยูเรเนียนโดยใช้คณิตศาสตร์ ด้วยหลักการที่รวมเอารูปแบบต่าง ๆ ของการทำมุมสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ นับตั้งแต่ดาวเดี่ยวถึงดาวเดี่ยว ดาวเดี่ยวถึงดาวเดี่ยวสะท้อน ไปจนถึงจุดอิทธิพล ว่าเป็นมาอย่างไร ขยายขึ้นเป็นสมการทั่วไปได้อย่างไร บนรากฐานของแกนหรือมิติโลก โดยทำให้ง่ายเพื่อเทียบเคียงกับตรีโกณและจตุโกณในแบบโหราศาสตร์ดั้งเดิม แต่อยู่ในรูปของสมการที่ใช้งานได้ทั่วไป อธิบายโดยอิงกับทฤษฎีฟิสิกส์เชิงคลื่นและควันตัม (สอดคล้องกับการอธิบายในแบบเดิมซึ่งเน้นการสมมาตร (Symmetry) ซึ่งเน้นความสอดคล้องกับธรรมชาติในสิ่งต่าง ๆ ทั้งรูปทรง เสียง สี และการอธิบายด้วยเวกเตอร์ ซึ่งเน้นกลศาสตร์เชิงมวล)
  • การสังเคราะห์ทฤษฎีแห่ง มิติ (Dimension) หรือ ระนาบ (Plane) จากความเข้าใจเรื่องเทศะ (Space) จากดวงราศีจักร (Zodiac) ซึ่งเป็น มิติโลก ให้อยู่ในรูปมิติใด ๆ ของเรื่องหรือเวลา (Time-space) ที่สนใจ ซึ่งจะเป็นทั้งกรอบใหญ่และกรอบเล็กที่ใช้อธิบายการทำงานได้ของโหราศาสตร์ทั้งในระดับโลก (ชีวิตคนที่อยู่ในโลก) และระดับเรื่อง (เฉพาะ) อาจเทียบได้กับฟิสิกส์ในระดับดาราศาสตร์ซึ่งถือว่าเป็นจักรวาลใหญ่ และฟิสิกส์ในระดับอะตอมซึ่งถือว่าเป็นจักรวาลเล็ก โดยอธิบายด้วยปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหรืออนุภาคใด ๆ
  • การศึกษาอิทธิพลของดาวกับเลขศาสตร์ (Numerology)
  • การสังเคราะห์ไพ่ยูเรเนียน (Uranian Card) ขึ้นโดยใช้ปัจจัยจากโหราศาสตร์ยูเรเนียน ด้วยการพยากรณ์ในทำนองเดียวกันกับไพ่ยิปซี (Tarot)
  • การพัฒนาคำแปลพระเคราะห์สนธิเพิ่มเติมสำหรับความหมายที่เหมาะสมกับยุคสมัย และที่ยังขาดอยู่สำหรับการผสมด้วยดาวเคราะห์น้อยหลักทั้ง 4, ดาวไครอน, ดาวแบคคัส, จุดเวอร์เท็กซ์ และจุดลัคนาศูนย์สูตร
  • การสังเคราะห์เกษตรตามราศี (Sign Ruler) สำหรับราหู (Moon's Node)
  • การสังเคราะห์องศาสำคัญในดวงชะตา ซึ่งเอื้อประโยชน์ในเชิงบวกมากที่สุดต่อเจ้าชะตา
  • การสังเคราะห์จุดตลาดหุ้น และจุดตลาดหุ้นรายวัน
  • การสังเคราะห์การพยากรณ์ตามวัยจรด้วยชุดของข้อมูลที่ส่งผลอยู่ในช่วงนั้นคือ A-B การแสดงผลจะสำรวจจากแกน A/B ที่ทำมุมถึง C ทั้งชุดอย่างผสมผสานกัน
  • การสังเคราะห์คำอธิบายเรื่องโหราศาสตร์ตาม "กฎแห่งกรรม" เชิงพุทธ "กรรมเก่า" เชิงพุทธ ว่าคือ A และ "กรรมใหม่" ว่าคือ PP/A (และ ME/A, VE/A, MA/A)
  • การสังเคราะห์คำอธิบายเรื่องโหราศาสตร์ตาม "ขันธ์ 5" เชิงพุทธ ที่เจ้าชะตาควบคุมได้หรือเป็นพฤติกรรมของเจ้าชะตา นอกเหนือจากจุดเจ้าชะตาแล้วก็จะเป็น ME, VE, MA กล่าวคือ VE คือ "เวทนา" ความชอบใจ (ไม่ชอบใจ), ME คือ "สัญญา" ความจำได้ (หมายรู้), และ MA คือ "สังขาร" กริยาและปฏิกิริยา เป็นพฤติกรรมหลังจากผ่านกระบวนการมาแล้ว ส่วน "รูป" และ "วิญญาณ" นั้นอยู่ในส่วนของจุดเจ้าชะตา ส่วนแสดงถึง "ชาติ", "ชรา", "มรณะ" ตามแนวคิดเชิงพุทธอีกวิธีอธิบายหนึ่ง เราสามารถจัดการไม่ได้จาก "รูป" ไปสู่ "วิญญาณ", "ชาติ", "ชรา", "มรณะ" ได้โดย "สติ" (ศีล สมาธิ ปัญญา) เพื่อบริหาร "เวทนา", "สัญญา", "สังขาร" กล่าวคือหยุดให้ได้ในจุดใดจุดหนึ่ง เพื่อจะไม่สร้าง "กรรมใหม่"
  • การสังเคราะห์การพยากรณ์เฉพาะเรื่องแบบรอบด้าน เช่น ความรักและครอบครัว จะตั้งแกนทั้งหมดดังนี้ VE, VE/A, CU, CU/A, JN, JN/A โดยเฉพาะที่ VE, CU, JN ถึง PP/A และ VE/A, CU/A, JN/A ถึง PP
(หน้านี้อยู่ในระหว่างการจัดทำ)
Comments