เหตุการณ์ 9/11 วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เครื่องบินชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ตอน 1

ใช้ข้อมูลอย่างลำดับเหตุการณ์จากวิกิพีเดีย (ดูลิงค์นี้) และใช้ดวงประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นพื้นหลัง
 
เหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 หรือ 9/11 เป็นเหตุการณ์วินาศกรรมของการปล้นเครื่องบินในสหรัฐอเมริกา โดยเครื่องบินพาณิชย์ ได้ชนเข้ากับตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และ เพนตากอน...
 
มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 2,973 คน: 246 คน บนเครื่องบิน, 2,602 คน ในนครนิวยอร์ก ในอาคารและพื้นดิน, และ 125 คน ในเพนตากอน รวมถึงนักผจญเพลิงนครนิวยอร์ก 343 คน, ตำรวจนครนิวยอร์ก 23 คน, ตำรวจการท่าเรือของนิวยอร์กและนิวเจอร์ซี 37 คน และผู้สูญหายอีก 24 คน
 
11 กันยายน พ.ศ. 2544
 
  • 08:45 น. (เวลาท้องถิ่น นิวยอร์ก) เครื่องบินโดยสารของสายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 จากบอสตันเข้าชนตึกเหนือ (ตึก 1 เป็นตึกที่มีเสาอากาศเห็นได้ชัด) ของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ แล้วฉีกตัวตึกเป็นช่องพร้อมทั้งเกิดไฟไหม้
  •  
    ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์อยู่ในนิวยอร์ก  เมื่อตั้งแกนที่อาทิตย์จรปัจจุบัน (SU t) ได้ภาพดังนี้
     
     
    SU t = BA t จะเห็นว่า ในการใช้มุมสัมพันธ์ระหว่างดาวเดี่ยว แกนนี้ไม่บ่งบอกเลยว่าจะเป็นวัน (SU)  ที่เลวร้ายใด ๆ
     
    ลองสำรวจดูข้อมูลในแกนอื่น ๆ โดยทั่ว ๆ พบว่า
     
    AR t = VX t = MA t = KR t = VU t (โดยเฉลี่ย ๆ แกนในแต่ละปัจจัย) อาจแปลได้ว่า ความรุนแรงซึ่งเป็นชะตากรรมของโลกในเรื่องการเมือง (การปกครองและอำนาจ)
    AS t = MO t = HA t = CH t อาจแปลได้ว่า ในสถานที่นั้นประชาชนอยู่ในสภาพเลวร้ายซึ่งนับว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ
    EQ t = ZE t ไม่มีนัยสำคัญต่อการใช้งาน
    UR t = AD t อาจแปลได้ว่า การหยุดชะงักอย่างกระทันหัน การชนอย่างรุนแรง เลวร้าย
    VE t = VT t อาจแปลได้ว่า การสูญเสียความสุขหรือคนอันเป็นที่รักหรือประชาชน
    NE t = HA t อาจแปลได้ว่า การเสื่อมถอยและสลายลงอย่างเลวร้าย
    AP t = VU t = PA t ไม่มีนัยสำคัญต่อการใช้งาน
     
    สรุปได้ว่าปัจจัยระดับ SU (วันนี้) กับการใช้มุมสัมพันธ์ระหว่างดาวเดี่ยว ไม่สามารถใช้เพื่อบ่งบอกถึงเหตุการณ์เฉพาะอันสำคัญประจำวันได้
     
    การใช้มุมสัมพันธ์ระหว่างดาวเดี่ยว จะต้องสำรวจข้อมูลจากทุกแกนมาประกอบกันเป็นเหตุการณ์ โดยจะใช้ได้ดีเฉพาะเมื่อข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดนั้นมีความโน้มเอียงไปทางหนึ่งทางใด คือดีหรือร้ายอย่างชัดแจ้ง (หลังจากที่ตัดข้อมูลด้านที่น้อยกว่าออก รวมทั้งข้อมูลกลาง ๆ คือไม่ดีไม่ร้ายด้วย ก็จะได้เรื่องว่ามีความโน้มเอียงไปในทิศทางอย่างไร) หากข้อมูลก้ำกึ่งระหว่างฝ่ายดีกับร้าย จะพยากรณ์ได้ยาก (ยังบอกไม่ได้ว่าดีหรือร้าย ก็อย่าหวังว่าจะใส่รายละเอียดเนื้อหาไปได้ นอกเสียจากว่าจะพยากรณ์อย่างใช้วาทะศิลป์หรือแทงกั๊ก)
    Comments