เหตุเกิด พ.ศ. ๖๐ ตอน ๓

  • จนกระทั่งทรงมีพระชนมายุได้ ๘ พรรษา พระราชาจึงได้ทรงเชื้อเชิญครูบาอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญในพิธีต่าง ๆ เข้ามาในพระราชวัง เพื่อให้การศึกษาแก่เจ้าชาย ทั้งในการอ่าน การเขียน และวิชาคำนวณ
  • แม้เมื่อเจ้าชายจะยังเป็นเด็กที่มีพระชนมายุเพียง ๘ พรรษา ก็ทรงมีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงหลีกเลี่ยงทุกอย่างทุกทางในการที่จะก่อความทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่สัตว์อื่นอย่างมากที่สุดที่พระองค์จะทรงทำได้ ในที่ทุกแห่งและทุกโอกาส
  • วันหนึ่ง เจ้าชาสิทธัตถะได้เสด็จออกไปวิ่งเล่นอยู่ในอุทยานร่วมกับเด็ก ๆ ข้าราชบริพาร ซึ่งเป็นเพื่อนเล่นของพระองค์ และบรรดาพระญาติรุ่นราวคราวเดียวกันอีกหลายองค์ ในบรรดาพระญาติที่เสด็จไปร่วมสนุกกันในวันนั้นมีเจ้าชายองค์หนึ่งชื่อ เทวทัต ได้เสด็จไปร่วมสนุกด้วย
  • ณ กรุงกบิลพัสดุ์ในครั้งนั้น เป็นปลายฤดูร้อน อันเป็นฤดูเริ่มการทำนา พระเจ้าสุทโธทนะได้เสด็จออกจากนครพร้อมด้วยขบวนหลวง เพื่อทรงประกอบพิธีที่เรียกกันว่า "รัชชนังคลมงคล"
  • ในชั้นแรกได้ทรงรับสั่งแก่พวกช่างให้สร้างปราสาทอันสวยงามขึ้นถึง ๓ ปราสาท
  • ในที่สุดกาลเวลาได้ผ่านไป เจ้าชายได้ทรงเริ่มผ่านวัยขึ้นมาเป็นหนุ่ม
  • เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธราผู้เลอโฉม
  • ในโอกาสต่อมา เมื่อเจ้าชายกำลังทรงม้าเล่นในอุทยาน พระองค์ได้ทรงพบกับนักบวชผู้หนึ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์สีเหลืองของบรรพชิต
  • ขณะนั้น ได้มีผู้มากรอบทูลว่าพระชายาของพระองค์ได้ประสูติพระโอรสพระองค์หนึ่งงดงามมาก แต่พระองค์มิได้ทรงแสดงอาการดีพระทัยแต่อย่างใด กลับทรงพลั้งพระโอษฐ์ออกไปเบา ๆ อย่างเหม่อลอยว่า "บ่วงเกิดขึ้นแก่ฉันแล้ว! บ่วงเกิดขึ้นแก่ฉันแล้ว!" ด้วยเหตุที่พระองค์ได้ตรัสดังนี้ คนทั้งหลายจึงได้ขนานนามพระโอรสของพระองค์ว่า "ราหุล" ซึ่งแปลว่า "บ่วง"
  • เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงควบม้ากัณฐกะไปจนกระทั่งลุถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ในเวลารุ่งอรุณ
 
อ้างอิง:
 
พุทธประวัติประกอบภาพ (Illustrated Story of the Lord Buddha) พิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน เนื่องในวารดิถีทำบุญฉลองอายุครบ 6 รอบ 72 ปี พระเทพกิตติโสภณ (สมบูรณ์ สมฺปุณฺโณ) เรียบเรียงคำบรรยายจาก "พุทธประวัติสำหรับเยาวชน" ซึ่งเป็นบทประพันธ์ของท่านพุทธทาสภิกขุ
 
  • เสด็จสรงน้ำ ณ ฝั่งน้ำเนรัญชรา ก่อนหน้าวันตรัสรู้
  • วันก่อนหน้าคืนที่จะตรัสรู้ เสด็จข้ามแม่น้ำเนรัญชรา ไปยังฝั่งต้นมหาโพธิ์
  • พราหมณ์โสตถิยะ ถวายหญ้าคาสำหรับลาดเหนืออาสนะที่จะประทับนั่งเพื่อการตรัสรู้ในตอนเช้าก่อนหน้าคืนตรัสรู้ ที่ต้นมหาโพธิ์
 
อ้างอิง:
ภาพพุทธประวัติ หินสลัก โดย พุทธทาสภิกขุ, พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๒
Comments